ฟิล์มกรองแสงมีกี่ประเภท อะไรบ้าง?
ปัจจุบัน ฟิล์มกรองแสงที่นิยมเอามาใช้ติดอาคารจะมีอยู่ 3 ประเภทหลักๆคือ
1. ฟิล์มโลหะ (Metallized) หรือที่เค้าเรียกว่า “ฟิล์มปรอท” นั่นแหละครับ แต่จริงๆแล้วไม่มีโรงงานประเทศไหนเอาสารปรอทมาใช้เคลือบฟิล์มนะครับ เค้าจะใช้โลหะชนิดอื่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ถ้าเป็นฟิล์มราคาถูกหน่อยก็อาจเป็นอลูมิเนียม ถ้าเกรดสูงหน่อยก็พวก Tungsten หรือ Ni-Chrome เป็นต้น แต่ไม่มีโลหะที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้แน่นอน
ลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนของฟิล์มโลหะก็คือการสะท้อนแสง มีทั้งสะท้อนแสงปานกลาง 20-30% ไปจนถึงสะท้อนแสงสูงมากๆ 50-60% ประเด็นสำคัญที่ควรทราบคือ การสะท้อนแสงเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันความร้อน ฟิล์ม 2 รุ่นที่มีความเข้มเท่ากัน รุ่นที่สะท้อนแสงมากกว่า ย่อมสามารถป้องกันความร้อนได้มากกว่ารุ่นที่สะท้อนแสงน้อยกว่าแน่นอน
ฟิล์มโลหะแบบสะท้อนแสงสูง
ทัศนวิสัย – มองจากภายใน
ฟิล์มโลหะแบบสะท้อนแสงปานกลาง
ทัศนวิสัย – มองจากภายใน
ฟิล์มโลหะแบบสะท้อนแสงต่ำ
ทัศนวิสัย – มองจากภายใน
2. ฟิล์มเซรามิค หรือนาโน เซรามิค (Nano Ceramic) อันเดียวกันแหละครับ เป็นฟิล์มที่นำสารประกอบจากเซรามิคมาใช้เป็นตัวป้องกันความร้อน ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนจากฟิล์มโลหะก็คือ การสะท้อนแสง ลองนึกภาพโลหะที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน มันจะมีความแวววาวหรือที่เรียกว่าการสะท้อนแสงนั่นเอง ในขณะที่ฟิล์มเซรามิคจะมีการสะท้อนแสงต่ำ ติดออกมาแล้วดูไม่เป็นเงาสะท้อนนั่นเองครับ โดยทั่วไปฟิล์มนาโนเซรามิคจะมีค่าการสะท้อนแสงประมาณ 6-7% ซึ่งต่ำมาก ช่วยในเรื่องของทัศนวิสัยการมองเห็น ทั้งมองจากภายในและภายนอก และไม่ปิดกั้นสัญญาณสื่อสารต่างๆที่เราใช้กันอยู่ทั่วไปทุกที่นั่นเอง
ฟิล์มนาโน เซรามิค ความเข้ม 80%
ทัศนวิสัย – มองจากภายใน
ฟิล์มนาโน เซรามิค ความเข้ม 60%
ทัศนวิสัย – มองจากภายใน
ฟิล์มนาโน เซรามิค ความเข้ม 40%
ทัศนวิสัย – มองจากภายใน
3. ฟิล์มคาร์บอน คาร์บอนนาโน หรืออะไรทำนองนั้น จริงๆแล้วเป็นฟิล์มที่มีค่าการป้องกันความร้อนไม่แตกต่างจากฟิล์มย้อมสีทั่วๆไป เพียงแต่การใช้สารประกอบจำพวกคาร์บอนที่มีความทนทานต่อการซีดจางมากกว่า ทำให้ฟิล์มชนิดนี้มีอายุการใช้งานได้นานขึ้น แต่ไม่นานไปกว่าฟิล์มโลหะหรือเซรามิคที่คุณภาพดีๆ ข้อดีเดียวของฟิล์มประเภทนี้คือราคาถูก มีสีและการสะท้อนแสงต่ำคล้ายกับฟิล์มเซรามิคมาก แต่เมื่อทดสอบด้วยเครื่องมือที่ใช้วัดรังสีอินฟราเรด จะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนจากฟิล์มนาโนเซรามิค โดยฟิล์มเซรามิคจะวัดค่าการป้องกันรังสีอินฟราเรดได้ประมาณ 70-99% ในขณะที่ฟิล์มจำพวกคาร์บอนจะวัดค่าการป้องกันรังสีอินฟราเรดได้ไม่เกิน 60% ซึ่งไม่ได้แตกต่างจากฟิล์มย้อมสีธรรมดาแต่อย่างใด
หมายเหตุ นอกจากประเภทของฟิล์มแล้ว กระบวนการผลิตที่ใช้ก็มีผลต่อประสิทธิภาพและอายุการใช้งานของฟิล์มเช่นกัน ฟิล์มกรองแสงประเภท Glue-Tinted ที่ใช้การเคลือบสีในชั้นกาว ก็จะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าและอายุการใช้งานสั้นกว่าฟิล์มที่ผลิตแบบ Sputtering ที่ใช้อนุภาคโลหะหรือเซรามิค เคลือบลงไปในชั้นฟิล์มโดยตรง